การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
การอาบน้ำผู้ป่วยยุคโควิด อาบน้ำใครกันบ้างมาลองดูกันค่ะ
1. ผู้ป่วยไอซียู ผู้ป่วยติดเตียง อย่างไรก็ต้องอาบให้บนเตียงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งช่วงนี้มีไอซียูสนามเพิ่มมากขึ้นอีก
2. ผู้ป่วยโรงพยาบาลสนาม ที่ต้องให้ออกซิเจน จะลุกไปอาบน้ำก็เกรงว่าจะหอบเหนื่อยกันไปอีก เข็นถังออกซิเจนก็ลำบาก หรือคนที่ยังไม่ได้ให้ออกซิเจน แต่ก็เริ่มจะเหนื่อยก็ไม่ควรไปอาบน้ำในห้องน้ำเพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุเป็นลมหน้ามืดล้มในห้องน้ำอีก หรือกรณีที่ไม่อยากไปใช้ห้องน้ำรวมที่ไม่ค่อยสะดวกซักเท่าไหร่
3. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เดินไปอาบน้ำในห้องน้ำเองได้แต่ก็ต้องระวังไม่ไห้แผลถูกน้ำ
4. ผู้ป่วย Home Isolation ที่แยกตัวแต่ก็ต้องใช้ห้องน้ำรวมกับผู้อื่นในบ้าน กรณีอาบน้ำอาจจะลำบากเพราะมีน้ำกระเด็นได้
5. ผู้ป่วยแพ้เหงื่อ ร้อนง่าย อยากอาบน้ำบ่อย แต่ไปเข้าอาบน้ำบ่อยก็ไม่ไหว หรือมีเหงื่อออกเฉพาะส่วน
ความหมายของการอาบน้ำ
การอาบน้ำเป็นการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal care) หมายถึง การกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวหนัง ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรค ทั้งยังทำให้เกิดความสดชื่นและความสบายทั้งกายและใจด้วย
เปรียบเทียบการอาบน้ำปกติ และ Aqualezz bath Style
การอาบน้ำทั่วไป หรือ อาบบนเตียง | Aqualezz bath Style |
1. ต้องใช้ห้องน้ำ | 1.เช็ดที่ไหนก็ได้ไม่ต้องมีห้องน้ำ |
2. กรณีอาบน้ำบนเตียงต้องใช้กะละมังน้ำและผ้าเช็ดตัว ทำให้ต้องซักผ้า | 2.ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ แค่มี Aqualezz bath และผ้าเช็ดตัวอัดเม็ด |
3.สบู่ที่ใช้ทั้งสบู่เหลวและสบู่ก้อนมักจะมีค่าเป็นด่างทำให้ผิวแห้ง | 3.มีค่าเป็นกรดอ่อน ๆ ใกล้เคียงกรดไขมันบนผิวหนัง |
4.หลังการอาบน้ำต้องทาโลชั่นเพราะผิวแห้ง และทาแป้งตามมาเพื่อให้สบายผิว | 4.ไม่ต้องทาโลชั่น เพราะมีสารบำรุงจากว่านหางจรเข้ |
5.การอาบน้ำครั้งต่อไปต้องเช็ดคราบโลชั่นและแป้งออก | 5. เช็ดตัวครั้งต่อไปไม่ยาก และเช็ดได้ทุกวันโดยไม่ต้องอาบน้ำแบบล้างออกได้เลย |
6.ต้องเลือกใช้สบู่ให้เหมาะกับผิว เช่น สบู่เด็ก สบู่คนผิวมัน ผิวแห้ง | 6.ใช้ได้กับทุกสภาพผิวผ่านการทดสอบการแพ้แล้ว |